top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนBook

4 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเริ่มทำ Social Enterprise!



1. หาปัญหาสังคมที่อยากจะแก้ไข

เริ่มง่ายๆ จากปัญหาที่เราสนใจหรือสังเกตจากปัญหาที่อยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำวัน เพราะยิ่งเรามี passion กับปัญหามากเท่าไหร่ จะทำให้เราอยากที่จะแก้ไขปัญหามากเท่านั้น ส่วนถ้าใครยังไม่มีปัญหาที่เราสนใจอาจจะเข้าไปในศึกษาในส่วนของ Sustainable Development Goals (SDGs) เพิ่มเติม ซึ่ง SDGs จะอธิบายในส่วนของทิศทางการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืนมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย

สามารถศึกษา SDGs เพิ่มเติมได้จากที่นี่: https://www.sdgmove.com/




2. ทำความเข้าใจปัญหาให้ลึกและรอบด้าน

หลายๆครั้งเราพยายามที่จะแก้ไขปัญหาโดยที่ยังไม่ได้ศึกษาและทำความเข้าใจมันก่อน ว่ามันใช่ปัญหาจริงๆหรือไม่

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราทำอยู่มันคือปัญหา ?

หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดคือการลงพื้นที่เข้าไปพูดคุยหรือสัมภาษณ์คนในชุมชนเพื่อที่จะเข้าใจว่าปัญหาจริงๆที่เค้ากำลังเผชิญอยู่คืออะไร นอกจากจะช่วยลดการแก้ปัญหาผิดจุดแล้วยังลดการใช้ทรัพยากรและเวลาที่จะต้องเสียไปอีกด้วย

.

ข้อแนะนำในการสัมภาษณ์เล็กๆน้อยๆ

1.ยกไอเดียทั้งหมดที่เราคิดมาออกไปก่อน เพราะการนำไอเดียที่เราคิดมาด้วยจะทำให้เราเกิดอคติกับการถามคำถามโดยไม่รู้ตัว

2.การถามที่ดีไม่ควรเป็นการถามให้เค้าตอบแค่ใช่หรือไม่ ควรเป็นคำถามปลายเปิดแล้วปล่อยให้เค้าเล่าให้ฟังจะดีกว่า

3.หากเจออะไรน่าสนใจระหว่างที่เค้ากำลังเล่าให้จดไว้ อย่าพยายามถามขัดระหว่างที่เค้าเล่า ควรปล่อยให้เค้าเล่าจบก่อนแล้วจึงค่อยถาม ไม่งั้นอาจทำให้พลาดประเด็นสำคัญไปได้




3. ศึกษาธุรกิจ SE อื่นๆว่าเขาทำยังไงกันบ้าง

เรียนรู้จาก SE ที่ทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว จะทำให้เราเรียนรู้ว่า SE เขาทำงานกันยังไง อะไรควรทำ ไม่ควรทำ เทคนิคต่างๆที่เราควรปรับใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น ช่วยให้เราย่นระยะเวลาในการที่จะไปถึงจุดหมาย โดยไม่ต้องเสียทรัพยากรในการลองผิดลองถูกอีกด้วย

.

1. Grameen Bank

หนึ่งในธุรกิจเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศมากนั้นคือ Grameen Bank ที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือให้คนจนที่ไม่สามารถกู้เงินได้เพราะไม่มีเครดิต โดยให้กู้เงินผ่านการค้ำประกันที่เรียกว่า “หลักทรัพย์ทางสังคม” (social collateral)

2.Moreloop

ธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยที่เน้นในเรื่องของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยการนำผ้าที่เหลือหรือผลิตเกินจากโรงงานมาส่งต่อให้กับ Designer หรือผู้ที่ต้องการใช้ผ้าในปริมาณที่ไม่มาก เพื่อลดการเกิดมลพิษหรือสารเคมีจากการผลิตผ้าให้มากที่สุด

3.Local alike

แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวในแบบของ Local Alike คือการจัดทัวร์ที่ประสานความร่วมมือให้เหล่า ‘ชาวบ้าน’ ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบทริปและนำเที่ยวเองภายในแต่ละชุมชน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งแบบองค์กรและแบบส่วนตัว ที่แสวงหา ‘ประสบการณ์คุณภาพ’ จากการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิต




4. เรียนรู้การใช้เครื่องมือในการทำธุรกิจต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่น Design Thinking, Human-Centered Design, Social Business Model Canvas เครื่องมือเหล่านี้เป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้ช่วยคิดวิธีการแก้ปัญหา วิธีการนี้เป็นเป็นวิธีการออกแบบแนวทางแก้ปัญหา นวัตกรรม โดยอิงจากความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้เราจัดระเบียบชุดข้อมูลเปรียบเทียบหรือโฟกัสได้ถูกจุดยิ่งขึ้น

.

ท้ายที่สุดแล้วอยากจะขอย้ำว่าที่เราแนะนำมานั้นเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้เราตีกรอบได้เร็วขึ้น ทั้งนี้หัวใจสำคัญคือปัญหาที่เราแก้อยู่นั้น เป็นปัญหาของผู้ใช้จริงๆ หรือไม่ เพราะถ้าไม่ใช่ สุดท้ายสิ่งที่เราทำอาจจะไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้อยู่ดี

.

หากใครอยากรู้เกี่ยวกับเครื่องมือเหล่านี้เพิ่มเติมเราได้รวบรวมไว้ให้แล้ว สามารถเข้าไปอ่านในลิงก์ด้านล่างได้เลย!


Design Thinking: https://medium.com/base-the-business-playhouse/design-thinking-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-overview-dc8c8e7547db

Human-Centered design: https://www.designkit.org/human-centered-design

Social Business model canvas: https://www.socialbusinessmodelcanvas.com/




ดู 223 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page