ปัจจุบันประชากรทั่วโลกมีจำนวนมากขึ้น การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจก่อให้เกิดความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และสร้างปัญหาภาวะขยะล้นโลก ซึ่งปัญหานี้กำลังกลายเป็นความท้าทายใหญ่ทั่วโลก
ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับ Circular Economy จะขอพูดถึงในส่วนของเศรษฐกิจแบบเส้นตรงก่อน เศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) คือการนำทรัพยากรมาผลิตสินค้า และเมื่อเลิกใช้แล้วจะถูกทิ้งไม่นำกลับมาใช้อีก ทำให้สิ่งที่ถูกทิ้งจากระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรงนี้จบลงที่การทิ้ง จะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถนำของเสียหรือสิ่งที่ถูกทิ้งเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่ได้ สร้างวงจรที่จะไม่เกิดการทิ้งหรือการเกิดของเสียจากระบบให้น้อยที่สุด ซึ่งเศรษฐกิจหมุนเวียนจะเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้
แล้ว Circular Economy คืออะไร?
Circular Economy คือ ระบบเศรษฐกิจที่ต้องการให้เราใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดในทุกกระบวนการ แทนที่จะจบที่การทิ้งเหมือนกับ Linear Economy เศรษฐกิจหมุนเวียนมีเป้าหมายที่จะกำหนดวงจรใหม่ โดยมุ่งเน้นที่ผลประโยชน์เชิงบวกทั่วทั้งสังคม ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างคุ้มค่า และ design กระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดของเสียในระบบใหม่ เปลี่ยนแปลงไปสู่แหล่งพลังงานหมุนเวียน ทางเศรษฐกิจ ธรรมชาติ และสังคม โดยหลักๆจะขึ้นอยู่กับกระบวนการหลายๆอย่าง:
Production
Distribution
Consumption
Reuse/Repair/Recycle
Recycling Sector
แนวคิด Circular Economy
ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน จะสร้างสุขภาพโดยรวมของระบบขึ้นมาใหม่ แนวคิดนี้จะตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจที่ต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งองค์กรและบุคคลทั่วโลก การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ได้เป็นเพียงการปรับเพื่อลดผลกระทบด้านลบของเศรษฐกิจเชิงเส้นเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในระยะยาว สร้างโอกาสทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ที่ให้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
เศรษฐกิจหมุนเวียนยังสร้างโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ อาทิ ธุรกิจการให้บริการด้านการขนส่งและกระจายสินค้า ธุรกิจรีไซเคิล อัพไซเคิล พลังงานทดแทน ธุรกิจแบบ sharing platform และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ขณะเดียวกัน ประชาชนผู้บริโภคเองก็จะได้รับผลเชิงบวกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนตัวเลือกในการบริโภคที่เพิ่มขึ้นพร้อม ๆ กับการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจากการที่ต้นทุนในการบริโภคสินค้าและบริการลดลง
Circular Economy กับประเทศไทย
ปัจจุบันประเทศไทยได้เริ่มนำหลัก Circular Economy มาใช้ในหลายๆที่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนทั่วไป ที่เราจะเห็นส่วนใหญ่ คือ การเอาเศษอาหารเหลือทิ้งจากชีวิตประจำวันไปทำปุ๋ย เพื่อคืนเป็นสารอาหารสู่ดิน หรือการนำไปผลิตไบโอแก๊ส การใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ ไปจนถึงการนำวัสดุธรรมชาติมาผ่านกระบวนการเพื่อใช้ใหม่ในลำดับต่อ ๆ ไป เช่น ใยจากต้นฝ้ายใช้ในการผลิตเสื้อผ้า เมื่อไม่ใช้แล้วเสื้อผ้าแล้วก็นำมาใช้ซ้ำเป็นเสื้อผ้ามือสอง นอกจากนั้นในไทยเองยังมี Community ที่เกิดจากการรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาโดยนำหลักของ Circular Economy มาใช้โดยเฉพาะ ชื่อกลุ่มว่า Circular Design Lab นำโดยทีมอาสาสมัคร 100% โดยรวมตัวกันเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยใช้การออกแบบอย่างเป็นระบบและเป็นวงกลมเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการแทรกแซงระบบ หรืออีกนัยหนึ่งคือ วิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้สำหรับปัญหาความท้าทายในไทย
โดยที่ใครสนใจที่อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอาสาสมัคร สามารถเข้าร่วมและอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.circulardesignlab.org/
------------------------------------------------------
https://www.npc-se.co.th/detailknowledgebase-462-
Comments